เตรียมเอกสารขอวีซ่าเชงเก้นให้พร้อม ยื่นรอบเดียวผ่านชัวร์!
ท่องเที่ยวหลายประเทศในโซนยุโรปใครว่ายาก ขอวีซ่าแค่ฉบับเดียวก็เข้าออกได้หลายประเทศเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลย พี่ช้างจะพาไปรู้จักใบเบิกทางที่ทำให้เราเข้าออกประเทศในโซนยุโรปได้มากถึง 26 ประเทศเลยทีเดียว แถมวิธีเตรียมเอกสารขอวีซ่าเชงเก้นเพื่อยื่นให้ผ่านฉลุยในครั้งเดียว! ในรอบนี้พี่ช้างขอพูดถึงวิธีเตรียมเอกสารยื่นวีซ่าแบบท่องเที่ยวระยะสั้นก่อนนะครับ ตามพี่ช้างมาเลยครับ
วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) คือ?
วีซ่าเชงเก้น คือ วีซ่าที่ยื่นเพียงครั้งเดียวแต่ใช้ข้ามเขตแดนในโซนยุโรปได้ถึง 26 ประเทศ และใช้เวลาพำนักอยู่ได้ไม่เกิน 90 วัน หรือเป็นเวลา 3 เดือนสำหรับการขอวีซ่าระยะสั้น
ที่มาของวีซ่าเชงเก้น
วีซ่าเชงเก้นนั้นเริ่มต้นมาจากสิ่งที่เรียกว่า “ข้อตกลงเชงเก้น” หรือ (Schengen Agreement) ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปโดยข้อตกลงมีอยู่ว่าพลเมืองของประเทศที่ทำข้อตกลงสามารถเดินทางเข้าออกระหว่างกันได้โดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทางเหมือนเดินทางข้ามจังหวัดเลยทีเดียวครับ แต่ผู้ที่ไม่ได้เป็นพลเมืองของประเทศต้องทำการยื่นร้องขอวีซ่าซึ่งสามารถใช้พำนักในกลุ่มประเทศได้ไม่เกิน 90 วัน และสามารถใช้เดินทางข้ามเขตแดนที่มีข้อตกลงเชงเก้นจำนวน 26 ประเทศได้โดยถือวีซ่าแค่ฉบับเดียว
กลุ่มประเทศที่ใช้วีซ่าเชงเก้นทั้ง 26 ประเทศ ได้แก่
ออสเตรีย, เบลเยียม, สาธารณรัฐเช็ค, เยอรมนี, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, กรีซ, สเปน, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, ฮังการี, อิตาลี, ลิกเตนสไตน์, ลิทัวเนีย, ลักเซมเบิร์ก, ลัตเวีย, มอลตา, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โปรตุเกส, สวีเดน, สโลวาเนีย, สโลวาเกีย, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ และ สวิสเซอร์แลนด์
23 ประเทศแรกที่กล่าวมาถือเป็นประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป (EU) และเข้าร่วมข้อตกลงเชงเก้น แต่ประเทศ ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ และ สวิสเซอร์แลนด์ แม้เป็นประเทศที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรปแต่ก็ได้เข้าร่วมข้อตกลงเชงเก้นด้วย
ขอขอบคุณรูปภาพจาก european commission
เตรียมตัวก่อนยื่นเอกสารขอวีซ่าเชงเก้น
การวางแพลนท่องเที่ยวนั้นสำคัญ ต้องวางแผนว่าเราจะเข้าประเทศไหน เที่ยวต่อประเทศไหน และออกประเทศไหน แต่ละประเทศใช้เวลาพำนักอยู่กี่วัน การวางแพลนนี้จะสามารถตัดสินได้ครับว่าเราจะต้องขอวีซ่าเชงเก้นกับสถานทูตประเทศอะไร
ปัจจัยหลัก 2 ข้อที่ต้องจำขึ้นใจเลยคือ
- เราวางแผนจะพำนักอยู่ในประเทศไหนนานที่สุดให้ขอวีซ่าเชงเก้นกับสถานฑูตประเทศนั้นครับ เช่น แพลนของเราคือ ฝรั่งเศส 3 วัน เยอรมัน 5 วัน อิตาลี 4 วัน นั่นหมายความว่าเราต้องขอวีซ่าเยอรมันจากสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทยนั่นเองครับ สำหรับคนที่เคยยื่นขอวีซ่าเชงเก้นมาก่อนจะทราบดีว่าการขอวีซ่าเยอรมันนั้นยากสุดๆ แต่จริงๆแล้วพี่ช้างว่าก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยนะครับ
- หากเราใช้เวลาพำนักอยู่ในประเทศที่เราเดินทางไปเท่ากันทุกประเทศให้ขอวีซ่าเชงเก้นกับประเทศแรกที่เราเดินทางไปถึงครับ เช่น แพลนของเราคือ เยอรมัน 3 วัน ฝรั่งเศส 3 วัน อิตาลี 3 วัน และเราจองตั๋วเครื่องบินจากไทยไปลงที่ประเทศเยอรมันเป็นประเทศแรก นั่นหมายความว่าเราต้องขอวีซ่าเยอรมันจากสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทยนั่นเองครับ
คำเตือน : การขอวีซ่าเชงเก้นควรยึดหลัก 2 ข้อตามที่กล่าวมาอย่างเคร่งครัดครับ เคยมีกรณีกลุ่มคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศโซนยุโรปแต่ดันขอวีซ่าเชงเก้นกับสถานฑูตประเทศที่ตนเองไม่ได้เดินทางไปพำนักหรือเดินทางไปถึง โดนตม.กักบริเวณและส่งกลับทันทีเลยครับ ดังนั้นพี่ช้างอยากให้เพื่อนๆยื่นเอกสารทำวีซ่าโดยใช้ข้อมูลตามจริงและตรงไปตรงมามากที่สุดครับ และการขอวีซ่าเชงเก้นไม่สามารถยื่นคำร้องล่วงหน้าก่อนเดินทางเกิน 90 วันได้ครับ
รายชื่อสถานทูตเพื่อขอวีซ่าเชงเก้น
สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประเทศไทย
ที่อยู่: 35 ซอย เจริญกรุง 36 ถนน เจริญกรุง แขวง บางรัก เขต บางรัก กรุงเทพฯ 10500
เบอร์โทรศัพท์: 02-657-5100
สถานเอกอัครราชทูตออสเตรีย กรุงเทพฯ
ที่อยู่: เลขที่ 14 ซอยนันทา-โมซาร์ท, สาทร ซอย 1, ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์: 02-105-6710
สถานเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม ประเทศไทย
ที่อยู่: 5 ถนนสาทรใต้ ชัน 17 อาคารสาทรซิตี้ กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์: 0-2679-5454
สถานทูตประเทศสาธารณรัฐเช็ก
ที่อยู่: 71/6 ซอยร่วมฤดี 2 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 ประเทศไทย
เบอร์โทรศัพท์: 02-250-9223
สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ
ที่อยู่: 9 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์: 0-2287-9000
สถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก
ที่อยู่: 10 สาทรซอย 1 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120
เบอร์โทรศัพท์: 0-2343-1100
ขั้นตอนเตรียมเอกสารขอวีซ่าเชงเก้น
1. เอกสารแบบฟอร์มการยื่นขอวีซ่าที่กรอกแล้วโดยสมบูรณ์พร้อมเซ็นชื่อ
จะมีทั้งแบบกรอกออนไลน์แล้วปริ้นท์ออกมาได้ด้วยครับ แต่ต้องเช็คให้ดีว่าจะยื่นขอวีซ่าประเทศอะไรเพราะแต่ละประเทศนั้นอาจมีการใช้แบบฟอร์มที่แตกต่างกันครับ พี่ช้างอยากให้เข้าไปเช็คข้อมูลที่หน้าเว็ปของสถานทูตนั้นๆประจำประเทศไทยก่อนเนื่องจากมีสถานทูตบางแห่งที่มีการรับยื่นเอกสารวีซ่าจากตัวแทนหรือการให้สัมปทานบริษัทรับยื่นวีซ่านั่นเอง ส่วนขั้นตอนการกรอกเอกสารการยื่นขอวีซ่านั้นไม่น่ายากครับถ้าเราไม่ใช่บุคคลอันตราย หรือมีเจตนาไม่ดีในการเดินทางเข้าประเทศ เพียงแค่ตอบให้ตรงคำถาม ตอบตามความเป็นจริงก็พอแล้วครับ
2. สำเนาพาสปอร์ตเดินทาง จำนวน 2 ชุดพร้อมเซ็นรับรองสำเนา (พกตัวจริงไปด้วย)
ส่วนนี้สำคัญมากครับ มือใหม่หัดเดินทาง หรือมือเก๋าย่อมต้องใส่ใจข้อนี้ให้ดีเลย พาสปอร์ตที่จะใช้สำหรับยื่นขอวีซ่าจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือ 180 วันนับจากวันที่เราเดินทางกลับออกจากประเทศนั้นๆ (ศึกษาวิธีการนับวันหมดอายุ >> https://www.changtrixget.com/tiptrick/how-to-passport-expired/) และต้องมีหน้าว่างภายในเล่มอย่างน้อย 2 หน้าครับ ถ้าพาสปอร์ตเล่มเก่าเรามีวีซ่าของประเทศอื่นๆอยู่เช่นอเมริกา สามารถแนบไปเพื่อประกอบการพิจารณาได้จะทำให้ผ่านฉลุยง่ายขึ้น
3. รูปถ่ายจำนวน 2 รูป ขนาด 35mm.x45mm.
หรือบ้านเราเรียกว่าขนาด 2 นิ้วนั่นแหละครับ และต้องเป็นภาพถ่ายใหม่ซึ่งมีอายุนับจากวันที่ถ่ายไม่เกิน 3 เดือน แต่กฎของภาพถ่ายก็จะมีรายละเอียดเล็กน้อยที่ร้านถ่ายภาพน่าจะรู้ดีอยู่แล้วแต่ถ้าเรารู้ไว้ก็ไม่เสียหายครับ นั่นคือ พื้นหลังของภาพถ่ายควรเป็นสีสว่าง เช่นสีขาว หรือสีครีมจะดีที่สุด เมื่อถ่ายภาพออกมาความสูงของหน้าเราวัดจากคางถึงหน้าผากจะอยู่ที่ประมาณ 32mm.-36mm.
ถ่ายภาพโดยทำหน้าตามปกติของเราที่สุดไม่ทำตาหยี ไม่ยิ้มเห็นฟัน หรือทำหน้าตาแปลกๆ ที่ผิดจากปกติวิสัยของเรา อย่าให้ผมปิดบังใบหน้ามากเกินไปพยายามเปิดหน้าให้กว้างเข้าไว้ครับ ใครหน้าบานก็ต้องยอมนะ ใครนึกภาพไม่ออกก็ให้ดูตามรูปตัวอย่างที่พี่ช้างแนบไว้ให้ด้านล่างนี่นะครับ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก Schengenvisa info
4. เอกสารรับรองการทำงาน (Work Permit) เป็นภาษาอังกฤษ
มีอายุนับจากวันที่ออกเอกสารไม่เกิน 1 เดือน
- ในกรณีที่คุณเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานบริษัท จำเป็นจะต้องให้ทางบริษัทต้นสังกัดออกหนังสือรับรองการเป็นพนักงานส่วนนี้ให้ โดยระบุชื่อของคุณ ตำแหน่งงาน วันที่เริ่มเข้าทำงาน เงินเดือน และจำนวนวันที่ทางบริษัทอนุมัติให้คุณลาได้จำเป็นต้องครอบคลุมวันที่คุณเดินทางไปและกลับ ถ้าเกินกว่านั้นไม่เป็นไร แต่ถ้าน้อยกว่าจะไม่ได้ครับ
- ในกรณีที่คุณเป็นเจ้าของกิจการคุณจำเป็นต้องขอหนังสือจดทะเบียนบริษัทที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นฉบับภาษาอังกฤษโดยมีชื่อของคุณกำกับอยู่เป็นเจ้าของกิจการครับ
- ในกรณีของคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ หรือคนที่ไม่มีรายได้ประจำ จำเป็นจะต้องทำหนังสือชี้แจงถึงรายได้ในชีวิตประจำวัน และรายได้ส่วนต่างๆว่ามาจากใครเป็นภาษาอังกฤษ
- ในกรณีนักเรียน นักศึกษา จะต้องขอหนังสือรับรองการเป็นนักเรียนของสถานศึกษานั้นๆโดยให้สถานศึกษาเป็นผู้ออกหนังสือรับรองให้เป็นภาษาอังกฤษโดยต้องมีตราปั๊มจากสถานศึกษาในเอกสารด้วย
5. เอกสารหลักฐานทางการเงิน ต้องทำการขอ Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
ให้ใช้บัญชีที่น่าเชื่อถือที่สุด สามารถแนบบัญชีฝากประจำไปด้วยได้ อาจจะปริ้นท์เองหรือขอโดยตรงจากธนาคารได้ครับ และเอกสารรับรองทางการเงิน สามารถแจ้งกับธนาคารได้ว่าต้องใช้เอกสารเพื่อขอวีซ่าเชงเก้นให้ธนาคารออกเอกสารรับรองเป็นภาษาอังกฤษว่าเราเปิดบัญชีกับธนาคารจริงและมียอดเงินหมุนเวียนสม่ำเสมอ ส่วนนี้ถือเป็นส่วนตัดสินสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการขอวีซ่าเชงเก้นเลยครับ
- ในกรณีผู้มีรายได้ พี่ช้างอยากแนะนำเพื่อนๆว่าใครที่วางแผนจะเดินทางไปโซนยุโรปและต้องขอวีซ่าเชงเก้นเร็วๆนี้ รีบบริหารบัญชีให้ดีเลยครับให้มีเงินเข้าออกสม่ำเสมอทำแบบนี้อย่างน้อย 6-7 เดือน ไม่ว่าจะเป็นบัญชีออมทรัพย์ หรือฝากประจำ ขออย่าให้บัญชีนิ่งมากเกินไป สำหรับคำถามที่ว่าต้องมีเงินคงเหลือในบัญชีมากเท่าไหร่จึงจะผ่าน ข้อนี้พี่ช้างว่ายากครับเพราะแม้บางท่านอาจคิดว่าแค่มีเงินคงเหลือในบัญชีมากพอสำหรับท่องเที่ยวก็ผ่านได้แล้วโดยการโอนเงินตู้มเดียวเข้าบัญชีค้างไว้เลย ซึ่งนั่นถือว่าค่อนข้างน่าสงสัยสำหรับที่มาของเงินครับอาจทำให้วีซ่าของเราโดนรีเจ็คได้ง่ายๆ ดังนั้นพี่ช้างว่าข้อนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางสถานทูตล้วนๆเลย
- ในกรณีของผู้ที่ยังไม่มีรายได้ หรือไม่มีงานทำต้องมีหนังสือ Sponsor Letter ออกโดยผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายให้พร้อมลายเซ็นเป็นฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมแนบหนังสือแสดงความสัมพันธ์ด้วย เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองบุตร และเอกสารรับรองรายได้ของผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายให้พร้อมแปลเป็นภาษาอังกฤษ
6. แพลนเดินทางท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษ
สำหรับส่วนนี้ไม่ต้องทำใหญ่โตอลังการถึงขนาดเป็นแมปปิ้งนะครับ แค่เป็นแพลนโดยละเอียดแยกเป็นวันที่ 1,2 …. ไปถึงวันสุดท้าย ว่าเราจะบินลงที่ไหน สายการบิน เวลาบิน ไฟลท์บิน เข้าออกประเทศใดบ้าง วันที่เท่าไหร่ พำนักอยู่ที่ไหน แต่ละประเทศที่เราเดินทางไปใช้เวลากี่วัน สถานที่ท่องเที่ยวหลักของประเทศที่เราต้องการไปเยือน ทริคของพี่ช้างคือหากสถานที่ใดสามารถจองตั๋วเข้าชมล่วงหน้าได้ก็แนบรายละเอียดการจองไปเลยครับให้ทางสถานทูตมั่นใจว่าเราไปแน่ๆ การเดินทางระหว่างประเทศ และภายในประเทศใช้ยานพาหนะใด ถ้าเป็นโดยเครื่องบินให้ระบุสายการบิน ไฟลท์บิน เวลาบินและรายละเอียดการจองของเราให้เรียบร้อยครับ แต่ถ้าเดินทางด้วยวิธีอื่น เช่น เรือ รถไฟ หรือเช่ารถขับเราอาจแนบรายละเอียดใบจองยานพาหนะเหล่านั้นไปด้วยพร้อมใบขับขี่สากลได้ครับให้ดูน่าเชือถือมากขึ้น สิ่งที่พี่ช้างอยากแนะนำคือเขียนแพลนตามความเป็นจริงทั้งหมดครับเพราะถ้าเขียนตรงข้ามกับสิ่งที่เราจะทำเทื่อไหร่ หากโดนสถานทูตเรียกสัมภาษณ์ถึงแพลนของเราแล้วตอบไม่ตรงกับเอกสารที่เรายื่นก็อาจโดนรีเจ็คได้เช่นกันครับ
7. เอกสารการจองที่พักและตั๋วโดยสาร
เอกสารในส่วนนี้ให้รวบรวมรายละเอียดบุ๊คกิ้งการจองของเราทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ตั๋วเครื่องบินขาไป-กลับ (จำเป็นต้องมีตั๋วขากลับด้วยนะครับ) ตั๋วบินระหว่างประเทศในโซนยุโรป (ถ้าใช้การเดินทางระหว่างประเทศโดยเครื่องบิน) ใบรายละเอียดการจองโรงแรมของเรา เอกสารการจองอื่นๆสามารถแนบไปด้วยได้โดยอ้างอิงจากข้อที่ เช่น ตั๋วเข้าชมสถานที่ ตั๋วโดยสารยานพาหนะอื่นๆที่เรามี
Trick: เอกสารการจองทุกอย่างเราสามารถเลือกแบบจ่ายชำระในภายหลังหรือยังไม่ชำระเงินได้ โดยเลือกจองจากเว็ปไซต์ Agency ทั้งหลาย เช่น Expedia, Agoda หรือ Booking.com เป็นต้น ที่มีรายละเอียดการจองว่าสามารถจ่ายทีหลังได้ หรือสามารถขอเงินคืนได้ สำหรับกรณีที่เราอาจมีการเปลี่ยนแผนอยากนอนโรงแรมอื่นหรือบินสายการบินอื่นในภายหลังได้
8. หนังสือเชิญในกรณีที่เราถูกองค์กร หรือบุคคลเชิญไป
- สำหรับการเชิญในรูปแบบองค์กรจำเป็นต้องใช้หนังสือเชิญที่องค์กรนั้นๆส่งมาพร้อมมีชื่อเราในหนังสือฉบับนั้นแนบไปด้วยครับ
- สำหรับการเชิญในรูปแบบบุคคลจำเป็นต้องใช้หลักฐานของผู้ที่เชิญแนบไปด้วย ได้แก่ ให้ผู้เชิญส่งหนังสือแสดงโค้ดเชิญจากสถานีตำรวจจากประเทศนั้นๆ พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางของผู้เชิญเพื่อใช้แนบคู่ไปกับเอกสารอื่นๆ หากมีหลักฐานที่อยู่ของผู้เชิญชัดเจนจะดีมากในกรณีที่เราพักที่บ้านของผู้เชิญไม่ได้พักที่โรงแรมที่สามารถตรวจสอบหมายเลขบุ๊คกิ้งได้ชัดเจน
9. กรมธรรม์ประกันภัยการเดินทาง จากบริษัทประกันภัยที่สถานทูตแต่ละประเทศให้การยอมรับ
ประกันการเดินทางที่จะซื้อถูกกำหนดว่าต้องมีวงเงินประกันมากกว่า 30,000 ยูโรขึ้นไป หรือตีเป็นเงินไทยราวๆ 1,500,000 บาท ตัวประกันการเดินทางต้องมีระยะเวลาคุ้มครองที่ครอบคลุมช่วงเวลาการเดินทางของเรา ต้องให้การคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุ ค่ารักษาอาการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง พี่ช้างแนะนำให้เพื่อนๆมองหาประกันที่ให้การคุ้มครองแบบครบวงจรสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศครับ เช่น อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล ประกันกระเป๋าเดินทางหาย หรือเสียหาย ตกเครื่อง ไฟลท์บินยกเลิกหรือดีเลย์ และที่สำคัญควรมีเงื่อนไขที่สำคัญอย่างนึงเลยก็คือหากเราใช้กรมธรรม์ที่เราซื้อนี้ยื่นหลักฐานวีซ่าแต่เกิดการโดนรีเจ็ควีซ่าทางบริษัทจะต้องคืนเงินประกันให้เราด้วยครับ ประกันการเดินทางที่ให้การคุ้มครองทั้งหมดที่กล่าวมาพี่ช้างขอแนะนำบริษัทที่พี่ช้างใช้บริการบ่อยๆ คือประกันการเดินทางจากซิกน่า (Cigna) ครับ พี่ช้างคิดว่าซิกน่าให้บริการคุ้มครองที่ครบครัน
- วีซ่าไม่ผ่านการันตีคืนเงิน 100% (ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก)
- เสียชีวิตขณะเดินทาง เจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลกระทันหันก็ไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาล พร้อมครอบคลุมเรื่องการเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน
- ตกเครื่อง ไฟลท์ดีเลย์ หรือไฟลท์ยกเลิกก็เคลมได้
- กระเป๋าหาย ทรัพย์สินหาย เงินหาย โดนปล้น กระเป๋าพัง กระเป๋าล่าช้าระหว่างเดินทางก็เคลมได้
- มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการแพทย์ตลอด 24 ชม. สำหรับลูกค้า เพียงโทร +662-696-3673
- เมื่อเราเดินทางอยู่ในกลุ่มประเทศเชงเก้นแล้วต้องเข้ารับการรักษาด่วนเรายังไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าอีกด้วยครับ (ต้องโทรสอบถามโรงพยาบาลในเครือซิกน่าเพื่อไม่ต้องสำรองจ่ายที่ +662-696-3673 ก่อนเข้ารับการรักษาทุกครั้ง) เวลาที่เราจะแจ้งเคลมประกันเพียงแค่โทรเข้าไปยังบริการสายด่วนฉุกเฉินทางการแพทย์ Cigna Travel Hotline ที่ +662-696-3673 สามารถขอทราบชื่อ ที่อยู่โรงพยาบาลในเครือที่เราสามารถเข้ารักษาได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน พนักงานปลายสายจะทำหน้าที่ในการประสานงานให้ลูกค้าอย่างรวดเร็วครับ สามารถอ่านรายละเอียดโดยคลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย
- แถมบริษัทประกันภัย Cigna เป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับการยอมรับจากสถานทูตทำให้การันตีได้ว่าประกันที่เราซื้อจากซิกน่านั้นจะใช้ยื่นวีซ่าได้แน่นอนครับ
Trick: ก่อนซื้อประกันการเดินทางควรศึกษาและสอบถามข้อมูลกับทางสถานทูตที่เราไปยื่นวีซ่าว่ามีบริษัทประกันภัยใดบ้างที่ทางสถานทูตให้การยอมรับ ไม่อย่างนั้นถ้าเราไปซื้อจากบริษัทประกันภัยที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสถานทูตอาจโดนเรียกสอบถามหรือรีเจ็คได้ครับเนื่องจากไม่มีความน่าเชื่อถือ
10. ค่าธรรมเนียมการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น
โดยปกติแล้วการยื่นขอวีซ่าเชงเก้นกับสถานทูตโดยตรงจะอยู่ที่ประมาณ 60 ยูโร หรือประมาณ 2,265 บาท ขึ้นอยู่กับค่าเงินในวันนั้นๆ
แต่หากทำการยื่นผ่านบริษัทตัวแทนรับยื่นวีซ่าอาจมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากนี้เป็นค่าบริการจัดการด้านเอกสารต้องทำการเช็คกับบริษัทตัวแทนรับยื่นวีซ่านั้นๆโดยตรงครับ
ข้อควรระวัง :
1. เอกสารรับรองทุกฉบับที่ขอจากองค์กรต่างๆต้องมีอายุไม่เกิน 1 เดือนนะครับ
2. เอกสารทุกฉบับที่เรายื่นต้องได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ หรือเยอรมันทั้งหมดรวมทั้งแผนการเดินทางของเราด้วย (แนะนำให้ใช้บริการรับแปลเอกสารที่น่าเชื่อถือและมีประสบการณ์)
เป็นไงครับเพื่อนๆไม่ยากเลยใช่ไหมครับ การยื่นขอวีซ่าเชงเก้นนั้นเราเพียงแค่ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และต้องไม่ลืมทำตามกฎของสถานทูตอย่างเคร่งครัดครับ พี่ช้างว่าเพียงเท่านี้วีซ่าของเราก็ Approve เรียบร้อย ระหว่างการเดินทางก็ไม่ต้องห่วงเรื่องเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บ รวมทั้งไฟลท์ดีเลย์ หรือกระเป๋าเสียหายเลยครับ เพราะเราได้ประกันการเดินทางจากซิกน่า (Cigna) ช่วยคุ้มครองอยู่ สนุกให้เต็มที่ เที่ยวได้สบายใจ หายห่วงครับ