วิธีคำนวณค่าไฟฟ้า
ตอนนี้หลายคนทำงานแบบ Work From Home หรืออยู่บ้านมากกว่าปกติ เจอปัญหาค่าไฟแพงจนน่าตกตะลึง การไฟฟ้าเคยอธิบายไว้ว่า อุณหภูมิที่สูงจัดส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานหนักมากขึ้นในเวลาเท่ากันในช่วงปกติ
เราจะคำนวณค่าไฟฟ้าโดยใช้สูตร
ค่าไฟฟ้า (บาท/ชม.) = (จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า x ค่าไฟต่อยูนิต)/1,000
โดยกำหนดให้ค่าไฟต่อยูนิต = ค่าไฟบ้านพื้นฐาน = 4 บาท/ยูนิต
เครื่องทำน้ำอุ่น
ใช้ไฟ: 2500 – 12000 วัตต์
ค่าไฟ: 10 – 47 บาท / ชม.
เครื่องปรับอากาศ
ใช้ไฟ: 1200 – 3300 วัตต์
ค่าไฟ: 5 – 13 บาท / ชม.
เครื่องซักผ้า
ใช้ไฟ: 3000 วัตต์
ค่าไฟ: 12 บาท / ชม.
เตารีดไฟฟ้า
ใช้ไฟ: 750– 2000 วัตต์
ค่าไฟ: 3 – 8 บาท / ชม.
เครื่องดูดฝุ่น
ใช้ไฟ: 750– 1200 วัตต์
ค่าไฟ: 3 – 5 บาท / ชม.
เครื่องปิ้งขนมปัง
ใช้ไฟ: 800– 1000 วัตต์
ค่าไฟ: 3 – 4 บาท / ชม.
หม้อหุงข้าว
ใช้ไฟ: 450– 1500 วัตต์
ค่าไฟ: 2 – 6 บาท / ชม.
ไดร์เป่าผม
ใช้ไฟ: 400– 1000 วัตต์
ค่าไฟ: 2 – 4 บาท / ชม.
เตาไมโครเวฟ
ใช้ไฟ: 100– 1000 วัตต์
ค่าไฟ: 0.40 – 4 บาท / ชม.
โทรทัศน์
ใช้ไฟ: 80 – 180 วัตต์
ค่าไฟ: 35 – 70 สตางค์ / ชม.
ตู้เย็น ( 7 – 10 คิว )
ใช้ไฟ: 70 – 145 วัตต์
ค่าไฟ: 25 – 60 สตางค์ / ชม.
เครื่องเล่น VDO
ใช้ไฟ: 20 – 75 วัตต์
ค่าไฟ: 10 – 30 สตางค์ / ชม.
พัดลมตั้งพื้น
ใช้ไฟ: 20 – 75 วัตต์
ค่าไฟ: 10 – 30 สตางค์ / ชม.
* หมายเหตุ : แต่ละรายการคิดจากค่าไฟเฉลี่ย 3.9 บาท/หน่วย
เทคนิคประหยัดพลังงานด้วยวิธีง่าย ๆ
- ปิดสวิตซ์ไฟทันทีเมื่อไม่ใช้งาน รวมถึงการถอดปลักเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้ เพราะการปิดสวิตซ์แต่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ จะทำให้มีไฟฟ้าไปเลี้ยงเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
- ปลูกต้นไม้ไว้รอบบ้าน เพื่อเพิ่มความเย็นให้แก่ตัวบ้าน ลดการใช้เครื่องปรับอากาศก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น
- อย่านำของร้อนเข้าไปแช่ในตู้เย็น จะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
- อย่าพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะเตารีดจะต้องใช้ความร้อนมากขึ้น
- อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้างทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ คืนเงินประกันค่าไฟฟ้า