เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด
หากจำเป็นจะต้องเดินทางในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ จำเป็นจะต้องศึกษาและตรวจสอบข้อมูลของแต่ละประเทศอย่างละเอียด ในการเดินทางเข้า-ออก รวมไปถึงแต่ละสายการบินด้วย เนื่องจากมีการเรียกใช้เอกสารต่าง ๆ มากกว่าเดิม รวมไปถึงมีการกำหนดกรอบระยะเวลาของเอกสารแต่ละประเภทด้วย การเตรียมเอกสาร และ เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด จะต้องระมัดระวังและรอบคอบอย่างมาก มิเช่นนั้นอาจจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน และยังทำให้เสียเวลาอีกด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะต้องหมั่นตรวจสอบคือ กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ ที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เช่น การกักกันตัวเอง ชื่อเรียกเอกสารแต่ละประเภท เช่น ประเทศไทย จะมีการใช้เอกสารเพิ่มเติม ชื่อว่า Certificate of Entry หรือ COE , ใบรับรองแพทย์ (Fit to Fly) และ เอกสาร COVID-19 PCR TEST เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จะยกตัวอย่างการเดินทาง เข้า-ออก จากประเทศไทย ไปยัง ประเทศ อังกฤษ ตามตัวอย่างด้านล่าง โดยเดินทางด้วยสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ส ที่ยังมีโปรโมชั่นตั่วเครื่องบินไปยังยุโรป อังกฤษ อเมริกา ในราคาที่จับต้องได้อยู่
การเตรียมเอกสารที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเดินทางเข้า-ออกจากประเทศไทย
เอกสารหลัก ๆ ที่ใช้ในการ เดินทางต่างประเทศในช่วงโควิด สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย และ พำนักอยู่ในประเทศไทย ที่จะเดินทางออกจาก และ หรือ เดินทางเข้าในประเทศไทย เอกสารจะมีไม่กี่ประเภท แต่จะมีเอกสารบางตัวที่จะต้องขอใหม่เสมอ ๆ จะยกตัวอย่างการเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศอังกฤษ
การเดินทางเข้าประเทศอังกฤษ
จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
– Visa
– Passport
– ผลตรวจ Covid-19 PCR TEST (72 ชั่วโมงก่อนบิน)
– จอง travel test package ราคา £210 ที่นี่ https://quarantinehotelbookings.ctmportal.co.uk/
– Consent Form (จากสายการบิน)
– สถานที่กักกันตัวเอง (Self Isolate) เป็นระยะเวลา 11 วัน 10 คืน
– Passenger Locator Form (48 ชั่วโมงก่อนเดินทางถึงประเทศอังกฤษ)
ผลตรวจ Covid-19 PCR TEST (72 ชั่วโมงก่อนบิน)
เป็นเอกสารการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ในระบบทางเดินหายใจ ที่จะต้องออกโดยโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากสถานฑูต น่าเชื่อถือ และ มีที่อยู่ชัดเจน เช่น โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน รวมไปถึงหน่วยงานที่ทางกรมสาธารณสุขดูแล กว่า 245 แห่ง
กรุงเทพฯ และปริมณฑล 91 แห่ง ได้แก่
ภาครัฐ 38 แห่ง
– กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (แล็บอ้างอิง)
– ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคติดต่ออุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (แล็บอ้างอิง)
– คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
– คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
– คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– สถาบันบำราศนราดูร
– โรงพยาบาลราชวิถี
– โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
– คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย)
– โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
– สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
– คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
– โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา) แผนกเรโทรไวโรโลยี
– สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
– โรงพยาบาลสมุทรปราการ
– คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ห้องปฏิบัติการหน่วยคุ้มครองสุขภาพโลก ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข
– โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
– โรงพยาบาลตำรวจ
– สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
– โรงพยาบาลปทุมธานี
– โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
– โรงพยาบาลสมุทรสาคร
– ห้องปฏิบัติการกลางเพื่อการวิจัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
– ห้องปฏิบัติการกลางและธนาคารเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
– โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
– โรงพยาบาลตากสิน
– โรงพยาบาลบางกรวย
– กลุ่มปฏิบัติการอ้างอิงชันสูตรวัณโรคแห่งชาติ กองวัณโรค กรมควบคุมโรค
– ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
– โรงพยาบาลกลาง
– สถาบันโรคทรวงอก
เอกชน 53 แห่ง
– โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
– บริษัท ไบโอ โมเลกุลาร์ แลบอราทอรีส์ (ในนามกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ สมิติเวช บีเอ็นเอช พญาไท และเปาโล เมโมเรียล)
– คลินิกเทคนิคการแพทย์ รามคำแหง
– หวนจียีนเทคโนโลยี คลินิกเทคนิคการแพทย์
– บริษัท โปรเฟสชั่นแนล ลาโบราทอรี่ แมเนจเมนท์ จำกัด
– โรงพยาบาลการุญเวช ปทุมธานี
– ห้องปฏิบัติการ นิวเจน ลาบอราตอรี่ คลินิกเทคนิคการแพทย์
– โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
– โรงพยาบาลนนทเวช
– บริษัทเนชั่นแนล เฮลท์แคร์ซิสเท็มส์ จำกัด สาขาโรงพยาบาลพญาไท 2
– โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
– โรงพยาบาลปิยะเวท
– MIC Lab (บริษัทเมดิคอล อินโนเวชัน เซ็นเตอร์ จำกัด)
– โรงพยาบาลเมดพาร์ค
– โรงพยาบาลวิภาราม
– องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สาขากรุงเทพมหานคร (International Organization for Migration, IOM)
– โรงพยาบาลศิครินทร์
– โรงพยาบาลสหวิทยาการมะลิ
– โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
– บริษัท กรุงเทพ อาร์ไอเอ แล็บ จำกัด
– บริษัท เมดิคอลไลน์แล็บ จำกัด
– โรงพยาบาลซีจีเอช โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
– บริษัทเอ็มบริโอ แพลนแนท จำกัด (สยามเฟอร์ทิลิตี้ คลินิก)
– บริษัท ศูนย์แลบธนบุรี จำกัด
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค
– โรงพยาบาลรามคำแหง
– โรงพยาบาลวิภาวดี
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
– โรงพยาบาลเจ้าพระยา
– โรงพยาบาลเสรีรักษ์
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง
– คลินิคเทคนิคการแพทย์ โปรแล็บ วิภาวดี
– โรงพยาบาลสุขุมวิท
– บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด
– คลินิกเทคนิคการแพทย์แบงคอกจีโนมิกส์
– โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
– โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
– โรงพยาบาลสินแพทย์
– โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
– บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์แห่งเอเชีย จำกัด (โรงพยาบาลลาดพร้าว)
– โรงพยาบาลนครธน
– โรงพยาบาลพระรามเก้า
– บริษัท พีซีที ลาบอราทอรี่ส์ เซอร์วิส จำกัด
– โรงพยาบาลเวชธานี
– โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
– โรงพยาบาลมหาชัย
– โรงพยาบาลบางนา 5
– โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
– โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
– โรงพยาบาลเอกชัย
– โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล (สมุทรสาคร)
ต่างจังหวัด 154 แห่ง ได้แก่
ภาครัฐ 125 แห่ง
– ศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน
– โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เชียงใหม่
– โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เชียงราย
– โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง ลำปาง
– โรงพยาบาลลำปาง ลำปาง
– โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ เชียงใหม่
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
– โรงพยาบาลพะเยา พะเยา
– โรงพยาบาลลำพูน ลำพูน
– โรงพยาบาลแพร่ แพร่
– โรงพยาบาลสันทราย เชียงใหม่
– โรงพยาบาลน่าน
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์ นครสวรรค์
– โรงพยาบาลสระบุรี สระบุรี
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สระบุรี
– โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ชัยนาท
– โรงพยาบาลอุทัยธานี อุทัยธานี
– โรงพยาบาลพิจิตร พิจิตร
– หน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร-สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐ) กำแพงเพชร
– โรงพยาบาลกำแพงเพชร กำแพงเพชร
– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
– โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตาก
– โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย สุโขทัย
– โรงพยาบาลสุโขทัย สุโขทัย
– โรงพยาบาลแม่สอด ตาก
– โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก อุตรดิตถ์
– โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์
– โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
– โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
– โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์
– โรงพยาบาลอุ้มผาง ตาก
– หน่วยวิจัยมาลาเรียโซโกล ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ตาก
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก พิษณุโลก
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 พิษณุโลก พิษณุโลก
– โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
– โรงพยาบาลนครปฐม นครปฐม
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม สมุทรสงคราม
– โรงพยาบาลอ่างทอง อ่างทอง
– โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี
– โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา อยุธยา
– ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นครนายก
– โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี
– โรงพยาบาลตราด ตราด
– โรงพยาบาลระยอง ระยอง
– โรงพยาบาลพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา
– โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ชลบุรี
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
– โรงพยาบาลชลบุรี ชลบุรี
– โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ชลบุรี
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี
– โรงพยาบาลราชบุรี ราชบุรี
– โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ชัยภูมิ
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โรงพยาบาลชัยภูมิ ชัยภูมิ
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลสุรินทร์ สุรินทร์
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา นครราชสีมา
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา นครราชสีมา
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลบึงกาฬ บึงกาฬ
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลนครพนม นครพนม
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน สกลนคร
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลสกลนคร สกลนคร
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลหนองคาย หนองคาย
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลหนองบัวลำภู หนองบัวลำภู
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลเลย เลย
– โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีโรงพยาบาลอุดรธานี อุดรธานี
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี อุดรธานี
– โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว สระแก้ว
– โรงพยาบาลมหาสารคาม มหาสารคาม
– โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์
– โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
– โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ด
– โรงพยาบาลชุมแพ ขอนแก่น
– โรงพยาบาลขอนแก่น ขอนแก่น
– โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ขอนแก่น
– โรงพยาบาลอำนาจเจริญ อำนาจเจริญ
– โรงพยาบาลยโสธร ยโสธร
– โรงพยาบาลมุกดาหาร มุกดาหาร
– โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
– โรงพยาบาลศรีสะเกษ ศรีสะเกษ
– โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อุบลราชธานี
– โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี อุบลราชธานี
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
– โรงพยาบาลปากช่องนานา นครราชสีมา
– โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา
– โรงพยาบาลบุรีรัมย์ บุรีรัมย์
– หน่วยกามโรคและโรคเอดส์ที่ 12.1 อำเภอหาดใหญ่ สงขลา
– โรงพยาบาลพัทลุง พัทลุง
– โรงพยาบาลสตูล สตูล
– โรงพยาบาลตรัง ตรัง
– โรงพยาบาลปัตตานี ปัตตานี
– โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ นราธิวาส
– โรงพยาบาลหาดใหญ่ สงขลา
– ห้องปฏิบัติการชันสูตรวัณโรค ศูนย์วัณโรคที่ 12 ยะลา
– โรงพยาบาลยะลา ยะลา
– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
– โรงพยาบาลตะกั่วป่า พังงา
– โรงพยาบาลพังงา พังงา
– โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ชุมพร
– โรงพยาบาลระนอง ระนอง
– โรงพยาบาลกระบี่ กระบี่
– โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต ภูเก็ต
– โรงพยาบาลทักษิณ สุราษฎร์ธานี
– โรงพยาบาลสิชล นครศรีธรรมราช
– โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช
– โรงพยาบาลเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี
– โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี สุราษฎร์ธานี
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต
– ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี
– โรงพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี
– โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ประจวบคีรีขันธ์
– โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา กาญจนบุรี
– สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี
– โรงพยาบาลหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์
เอกชน 29 แห่ง
– บริษัท ไบโอ โมเลกุลาร์ แลบอราทอรีส์ (ประเทศไทย) สาขาโรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์ ภูเก็ต
– โรงพยาบาลศรีสวรรค์ นครสวรรค์
– เนชั่นแนลเฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ คลินิกเทคนิคการแพทย์ สาขาพัทยา ชลบุรี
– เนชั่นแนลเฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ คลินิกเทคนิคการแพทย์ สาขาระยอง ระยอง
– เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ คลินิกเทคนิคการแพทย์ สาขาหาดใหญ่ สงขลา
– บริษัท แล็บเฮาส์ (ชลบุรี) จำกัด ชลบุรี
– โรงพยาบาลสิริเวช จันทบุรี
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อรัญประเทศ สระแก้ว
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ฉะเชิงเทรา
– โรงพยาบาลราชเวชอุบลราชธานี
– โรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร ชลบุรี
– โรงพยาบาลราชธานี โรจนะ อยุธยา
– โรงพยาบาลขอนแก่นราม ขอนแก่น
– โรงพยาบาลแม่สอด-ราม ตาก
– องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สำนักงานแม่สอด ตาก
– โรงพยาบาลานนา เชียงใหม่
– โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม
– โรงพยาบาลราชเวช เชียงใหม่
– โรงพยาบาลเขลางค์นคร-ราม ลำปาง
– โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต ภูเก็ต
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี
– โรงพยาบาลทักษิณ
– โรงพยาบาลศุภมิตร สุพรรณบุรี
– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ เชียงราย
– โรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ
– โรงพยาบาลพิษณุเวช พิษณุโลก
– โรงพยาบาลสิโรรส ยะลา
– โรงพยาบาลพะเยา ราม
– เอ็นเฮลท์ สหคลินิก สาขาเชียงใหม่
เอกสาร COVID-19 PCR TEST นี้จะมีผลใช้รับรองได้ ต่อเมื่อได้รับผลรับรองจากโรงพยาบาลหรือสถานประกอบการ หรือ หน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ภายใน 72 ชั่วโมงเท่านั้น กรณี เลยระยะเวลาจะต้องขอใบรับรองใหม่ ดังนั้นการเดินทางต่อเครื่องที่มากกว่า 72 ชั่วโมงจำเป็นจะต้องสอบถามทางสถานฑูตอีกครั้ง และสามารถใช้สำหรับ เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด ได้เพียงแค่ 1 ครั้ง / ใบรับรองเท่านั้น
Consent Form (จากสายการบิน)
เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด นี้ สายการบินก็มีการออกแบบฟอร์มมาเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการของแต่ละประเทศ ซึ่งแบบฟอร์มจากสายการบินนี้ จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละสายการบิน ขึ้นอยู่กับแต่ละเส้นทางและเที่ยวบิน ตามข้อตกลงเงื่อนไขและข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่น การเดินทาง จาก ประเทศกาตาร์ (โดฮา) เข้ามายังประเทศไทย ไม่จำเป็นจะต้องกรอก Consent Form เป็นต้น แบบฟอร์มจากสายการบินนี้ส่วนใหญ่จะใช้ควบคู่กับ COVID-19 PCR TEST ทุกครั้ง
Passenger Locator Form (48 ชั่วโมงก่อนเดินทางถึงประเทศอังกฤษ)
เอกสารเพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับผู้ที่ เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด ที่ทางตรวจคนเข้าเมืองประเทศอังกฤษมีข้อกำหนดให้กรอกข้อมูลก่อนการเดินทางเข้าไปยังประเทศอังกฤษ หากไม่ได้ทำการข้อกำหนดจะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและอาจจะทำให้ต้องเสียค่าปรับได้
เอกสารข้างต้นนี้เป็นเอกสารจำเป็นทั้งหมดและมีระยะเวลาการใช้งานทั้งสิ้นในการไปยังประเทศอังกฤษ ดังนั้นควรระมัดระวังและตรวจสอบเอกสารและระยะเวลาที่เอกสารได้รับการอนุมัตอย่างสม่ำเสมอ การส่งมอบเอกสารที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขการเข้าประเทศอาจจะทำให้ถูกปรับ และถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศอังกฤษได้
สามารถตรวจเอกสารเบื้องต้นจากสายการบินกาตาร์แอร์เวยส์ได้ ที่นี่
https://www.qatarairways.com/en-th/travel-alerts/requirements.html
ขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศอังกฤษ
1. เตรียมเอกสาร เช่น หนังสือเดินทาง / ขอวีซ่าเข้าประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นขั้นตอนหลักในเดินทางไปยังสหราชอาณาจักร
2. หลังจากขอ วีซ่า เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้จะต้องจองตั๋วเครื่องบิน และ เตรียมสถานที่สำหรับกักกันตัวเอง หรือ Self-Isolation แล้วนะครับ เพื่อใช้ในการกรอกเอกสารทั้งจากสายการบินและเพื่อใช้ในการเข้าไปยังสหราชอาณาจักร
3. ตรวจ COVID-19 ในระบบทางเดินหายใจ (COVID-19 PCR TEST) ปกติจะใช้ระยะเวลาในการยื่นเรื่อง ตรวจ และรอรับผล ประมาณ 6 – 24 ชั่วโมง โดยใบรับรองการตรวจ COVID-19 นี้จะมีผลหลังจากได้รับผลแล้ว 72 ชั่วโมง หากเลยระยะเวลาดังกล่าวจะต้องตรวจใหม่อีกครั้ง
4. รับผลการตรวจ COVID-19 และกรอกเอกสารจากทางสายการบิน (Consent Form) / กรอกเอกสาร Passenger Locator Form ของสหราชอาณาจักร โดยจะต้องกรอกก่อนเดินทางถึงเป็นระยะเวลาไม่เกิน 48 ชั่วโมง
5. เดินทาง กรณี ต่อเครื่องที่ โดฮา ยังคงสามารถต่อเครื่องได้ตามปกติ โดยจะต้องปฏิบัติตามกฎของสนามบินอย่างเคร่งครัด
6. เมื่อถึงจุดหมายปลายทางแล้ว จะมีการตรวจเอกสารทั้งหมด หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการเข้ากักกันด้วยตัวเองอย่างน้อย 10 วัน และต้องมีผลตรวจจาก Travel Test Package ในวันที่ 2 และ 8 เมื่อครบกำหนดแล้วจึงจะสามารถเดินทางภายในสหราชอาณาจักรได้
ดาวน์โหลด Consent Form ของสายการบิน Qatar Airways ได้ที่นี่ https://www.qatarairways.com/content/dam/documents/QR-consent-form-PCR.pdf
กรอกข้อมูล Passenger Locator Form ผ่านระบบออนไลน์ที่นี่ https://www.gov.uk/provide-journey-contact-details-before-travel-uk
** หมายเหตุ การหน่วยงานภาครัฐกำลังมีการพิจารณาเรื่อง Hotel Quarantine สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าไปยังประเทศอังกฤษ ก่อนการเดินทางควรตรวจสอบเมืองและเส้นทางการบินก่อนเข้าไปยังสหราชอาณาจักรอีกครั้ง
การเดินทางเข้าประเทศไทย
จะต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
– Passport
– Certificate Of Entry (COE)
– ใบรับรองแพทย์ หรือ เอกสาร Fit to Fly (72 ชั่วโมงก่อนบิน)
– ใบจองโรงแรม ASQ หรือ กรณีบินด้วย RePAT Flight กรุณาตรวจสอบว่าสามารถใช้สิทธิ์เข้าใช้ SQ ได้หรือไม่อีกครั้ง
– Covid-19 PCR TEST (ตามเงื่อนไขของสายการบินและหน่วยงานภาครัฐ) (72 ชั่วโมงก่อนบิน)
– Consent Form (ถ้ามี)
เอกสารที่ใช้ในการเข้าประเทศไทยนั้นโดยเฉพาะ ใบรับรอง COE นั้น จะมีอายุเพียงแค่ 15 วันหลังจากได้รับการอนุมัต หากเกินกำหนดเวลาผู้ที่ต้องการเดินทางจะต้องขอใบรับรองใหม่ทั้งหมด
ขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยหนังสือเดินทางไทย
1. เตรียมเอกสาร เช่น หนังสือเดินทาง และกรอกเอกสารขอ Certificate of Entry (COE)
#ทางไปกรอก >>> https://coethailand.mfa.go.th/
2. หลังจากกรอกเอกสารเรียบร้อย จะต้องจองตั๋วเครื่องบิน และ โรงแรม ASQ เพื่อใช้ในการอัพโหลดเข้าไปยังระบบของ COE
* สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยเที่ยวบิน RePAT สามารถติดต่อสถานฑูตในการขออนุญาตใช้บริการ State Quarantine ได้ฟรี (ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
3. ตรวจ COVID-19 ในระบบทางเดินหายใจ (COVID-19 PCR TEST) และ ขอใบรับรองแพทย์ (Fit To Fly Certificate) ปกติจะใช้ระยะเวลาในการยื่นเรื่อง ตรวจ และรอรับผล ประมาณ 6 – 24 ชั่วโมง และเอกสารใบรับรองแพทย์ จะใช้เวลาไม่นานหลังจากการตรวจเบื้องต้น ใบรับรองการตรวจ COVID-19 และ ใบรับรองแพทย์นี้จะสามารถใช้งานได้ทันทีหลังจากได้รับผลแล้ว 72 ชั่วโมง หากเลยระยะเวลาดังกล่าวจะต้องขอเอกสารทั้งหมดใหม่อีกครั้ง
4. รับผลการตรวจ COVID-19 และกรอกเอกสารจากทางสายการบิน (Consent Form) (ถ้ามี)
** สำหรับผู้โดยสารที่ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย เดินทางกลับด้วย Qatar Airways ไปยังประเทศไทย ไม่ต้องใช้ผลตรวจ COVID-19 PCR TEST ในเที่ยวบินของ Qatar Airways
5. เดินทาง กรณี ต่อเครื่องที่ โดฮา ยังคงสามารถต่อเครื่องได้ตามปกติ โดยจะต้องปฏิบัติตามกฎของสนามบินอย่างเคร่งครัด
6. เมื่อถึงจุดหมายปลายทางแล้ว จะมีการตรวจเอกสารทั้งหมด หลังจากนั้นจะต้องดำเนินการเข้ากักกันด้วยตัวเองในโรงแรม ASQ หรือ SQ เป็นระยะเวลา 16 วัน 15 คืน และจะต้องมีผลตรวจเป็น “ลบ” ทั้ง 2 ครั้ง ในขณะที่กักกันตัวเองอยู่ในโรงแรม ASQ / SQ หลังจากนั้นจึงจะสามารถเดินทางภายในประเทศไทยได้ตามปกติ
** หมายเหตุ หากเป็นการขอเอกสารใบรับรองแพทย์ Fit to Fly ในประเทศสหรัฐอเมริการ ควรตรวจสอบ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองจากสถานฑูตอีกครั้ง ตามรายละเอียด จากสถานฑูตไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้ https://thaiembdc.org/fittofly/
คำศัพท์ที่ควรรู้สำหรับ ” เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด “
หลังจากที่กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เริ่มลงตัวก็มีการเริ่มใช้คำเรียกต่าง ๆ อย่างเป็นทางการแล้ว มาดูคำศัพท์ที่ใช้กันหลัก ๆ อีกครั้ง
RePAT Flight (Repatriation Flight)
เที่ยวบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับภูมิลำเนา โดยจะมีการ จัดสรร โควต้า กำหนดเส้นทาง วันและเวลา รวมไปถึงจำนวนคนที่จะเดินทางกับเที่ยวบินนี้อย่างชัดเจน ผู้ที่ต้องการเดินทางโดย RePAT Flight นี้ จะต้องติดต่อ สถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ และลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ ก่อนเวลาที่ทางสถานทูตกำหนดอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
Semi Commercial Flight
เป็นเที่ยวบินกึ่งพาณิชย์ ที่ทางกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับทางสายการบิน จัดขึ้นเพื่อนำชาวไทยและชาวต่างชาติ 10 ประเภท ที่ได้รับการยกเว้นให้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้
COVID-19 PCR TEST
การตรวจหาเชื้อ Covid-19 ในทางเดินหายใจ ซึ่งจะเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากการป้ายเยื่อบุในคอ หรือ ป้ายเนื้อเยื่อ หลังโพรงจมูก หากเชื้อลงไปในปอด ก็จะต้องนำเสมหะที่อยู่ในปอดออกมาตรวจ ส่วนมากจะต้องตรวจ และได้รับผล ก่อนบิน ประมาณ 72 ชั่วโมง
Consent Form / The Medical Information Form
เอกสารยินยอม (โดยสายการบิน) เป็นเอกสารเพื่อยืนยันว่า ผู้โดยสาร เตรียมพร้อม ทั้งเอกสารและยอมรับเงื่อนไข การเดินทางกับทางสายการบินนั้น ๆ
Quarantine Hotel
โรงแรมที่ใช้กักกันผู้เดินทางเพื่อสำรวจอาการ จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐในแต่ละประเทศนั้น ๆ เมื่อผู้เดินทางจอง Quarantine Hotel แล้ว ในใบจองจะต้องมีการระบุ ชื่อ ตำแหน่งที่ตั้ง เบอร์โทร ช่องทางการติดต่อ อย่างชัดเจน
Passenger Locator Form
เป็นฟอร์มเอกสารที่ทางประเทศอังกฤษใช้ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่จะเดินทางเข้ามายังประเทศอังกฤษ สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ได้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายของ ประเทศอังกฤษ หลังจากได้รับการยืนยันและเริ่มใช้งานแล้วเอกสารจะถูกเก็บไว้อย่างน้อย 42 วัน หลังจากนั้นจะถูกลบ ออกจากระบบ
Hospital Quarantine
โรงพยาบาลที่ใช้เป็นสถานที่กักกัน สำหรับผู้ที่เดินทางมารักษาหรือดูแลสุขภาพ โรงพยาบาลนั้น ๆ จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานผ่านหน่วยงานที่กำกับดูแลในแต่ละประเทศ
Certificate Of Entry (COE)
เป็นเอกสารหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย เมื่อได้รับการตรวจสอบเบื้องต้นแล้วผู้ที่ยื่นคำร้องจะต้องอัพโหลด เอกสารการเดินทางหรือรายละเอียดตั๋วเครื่องบิน และ เอกสารการจองโรงแรม ASQ ภายใน 15 วัน เมื่อได้รับการอนุมัติจึงจะสามารถพิมพ์เอกสารพร้อมทั้งเตรียมใบรับรองแพทย์ก่อนขึ้นเครื่อง ศึกษาเพิ่มเติม ได้ที่ https://coethailand.mfa.go.th/
เอกสารใบรับรองแพทย์ / Fit to Fly Certificate
เป็นเอกสารใบรับรองแพทย์โดยจะต้องอ้างอิงจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ทางสถานฑูตไทยในแต่ละประเทศให้การรับรอง ตัวอย่างเช่น Urgent Care ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น สามารถใช้รับรองสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากได้รับเอกสารใบรับรองแพทย์เท่านั้น
SQ (State Quarantine)
พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย ที่ประสงค์จะเดินทางเข้ามาพำนักอาศัยในประเทศไทย โดยจะต้องเดินทางกลับด้วยเที่ยวบิน RePAT เท่านั้น จึงจะสามารถยื่นเรื่องขอพิจารณาได้ การอนุญาตขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ASQ (Alternative State Quarantine)
สถานที่กักตัวทางเลือก สำหรับผู้เดินทางที่ถือหนังสือเดินทางประเทศไทยและหนังสือเดินทางต่างชาติ ที่ประสงค์จะเข้ามาพำนักในประเทศไทย โดยจะต้องเข้ากักกันตัวในโรงแรม ASQ และตรวจหาเชื้อ COVID-19 เป็นระยะเวลา 16 วัน 15 คืน
LQ (Local Quarantine) พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ ระดับจังหวัด สำหรับผู้เดินทางข้ามจังหวัด
ALQ (Alternative Local Quarantine) สถานที่กักตัวทางเลือก สำหรับผู้เดินทางข้ามจังหวัด
OQ (Organization Quarantine) พื้นที่กักตัวที่ทางองค์กรนั้นจัดขึ้นมาและให้พักในพื้นที่ตนเองจัดไว้
Home Quarantine / Self-Isolate / Self-Quarantine การกักกันตัวเองที่บ้าน / การกักกันตัวด้วยตนเอง (สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแล้ว) / การกักกันตัวด้วยตนเอง (สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบผล หรือ ไม่ทราบว่าติดเชื้อหรือไม่)
จะเห็นได้ว่า เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด นี้ ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน และจะต้องหมั่นตรวจสอบสถานการณ์อยู่อย่างสม่ำเสมอ เกี่ยวกับมาตรการเงื่อนไขในแต่ละประเทศจนกว่าจะมีการฉีกวัคซีนต่าง ๆ เรียบร้อยและจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในระหว่างนี้หากจำเป็นจะต้องเดินทางจริง ๆ อย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย ทานอาหารร้อน ๆ ใช้ช้อนกลาง และหมั่นล้างมือ ๆ บ่อย ๆ หากจำเป็นจะต้อง เดินทางต่างประเทศช่วงโควิด นี้ สายการบิน Qatar Airways มีโปรโมชั่น ตั๋วเครื่องบิน ราคาถูก ให้กับผู้ที่จำเป็นจะต้องเดินทางอีกด้วย
Riyadh ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 17,670 บาท
Milan ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 18,430 บาท
Rome ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 18,955 บาท
Helsinki ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 19,180 บาท
Oslo ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 19,520 บาท
Brussels ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 19,585 บาท
Frankfurt ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 19,880 บาท
Paris ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 19,970 บาท
Bacelona ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 20,215 บาท
Madrid ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 20,360 บาท
Vienna ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 20,430 บาท
Geneva ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 20,625 บาท
Munich ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 20,685 บาท
Saint Petersburg ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 20,740 บาท
London Gatwick ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 21,310 บาท
Warsaw ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 21,370 บาท
Prague ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 21,470 บาท
Berlin ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 21,780 บาท
Budapest ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 21,900 บาท
Dublin ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 21,995 บาท
Edinburgh ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 25,015 บาท
San Francisco ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 26,810 บาท
Los Angeles ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 27,270 บาท
Boston ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 30,645 บาท
Houston ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 32,590 บาท
Seattle ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 36,055 บาท
Dallas ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 38,065 บาท
Miami ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 40,065 บาท
Sao Paulo ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 40,525 บาท
Buenos Aires ราคา ไป-กลับ เริ่มต้น 43,565 บาท
รวมเบอร์ติดต่อ สถานฑูตไทยทั่วโลก เบอร์ติดต่อ สถานทูต ไทย ในต่างประเทศทั่วโลก เอเชีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา
รวมเบอร์ติดต่อ สายการบิน เบอร์ติดต่อ สายการบิน ที่มีฐานการบินเข้า-ออกจากไทย รวมเบอร์โทร อีเมล์ ทุกสายการบิน